ห้องเรียนในฝันของการศึกษาศตวรรษที่ 21:
บทบาทอันสำคัญของห้องเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ในโลกสมัยใหม่
ชีวิตในโลกสมัยใหม่เป็นชีวิตที่นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วในระดับเสี้ยววินาที ส่งผลให้ห้องเรียนแบบเดิมถูกตั้งคำถามและจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเรียนรู้ในยุค Disruptive Technologห้องเรียนต้องมีการสร้างสรรค์ในการทำสื่อหรือการใช้อินเตอร์เน็ตจะทำให้ยุคอะไรได้เร็วทันใจ1. สภาพแวดล้อมชวนให้อยากเรียนรู้ห้องเรียนควรมีสภาพแวดล้อมเชื้อเชิญให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ และเอื้อให้ครูกับนักเรียนใกล้ชิดกันมากที่สุด โดยกระทรวงศึกษาได้กำหนดจำนวนที่เหมาะสมของนักเรียนต่อห้องเรียน แบ่งตามระดับการศึกษา ดังนี้– จำนวนของนักเรียนระดับปฐมวัย 30 คนต่อห้องเรียน– จำนวนของนักเรียนระดับประถมศึกษา 30 คนต่อห้องเรียน– จำนวนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 40 คนต่อห้องเรียนแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงคือ ยังมีห้องเรียนอีกมากที่มีจำนวนของนักเรียนเยอะจนแออัด ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศห้องเรียนที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดต่างๆ ออกมาให้เอื้อต่อการเรียนรู้มากที่สุด เช่นการเว้นทางเดินในห้องเรียนให้โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็นระเบียบ นอกจากนี้ครูยังควรจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้อย่างน้อยก็ในระดับพื้นฐานให้แก่นักเรียน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณผนังห้อง ไม่ควรปล่อยไว้ให้โล่งเปล่า แต่ครูสามารถสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเฉพาะในกระดานดำ2. ผู้เรียนมีความเข้าใจและปฏิบัติตามกฏของห้องเรียนครูเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน รวมทั้งการวางกฏเกณฑ์ กระบวนการ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตลอดปีการศึกษา ทั้งนี้ควรติดประกาศไว้ในที่ที่ง่ายต่อการมองเห็นนอกจากนี้ การที่ครูหาประโยคที่เป็นข้อคิดหรือให้กำลังใจในการเรียนมาติดไว้ในห้องเรียนก็สามารถสร้างพลังและทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจว่า คุณครูของเขาคาดหวังต่อตัวของเขาอย่างไร นับเป็นวิธีการง่ายๆ ในการทำให้เด็กมีวินัยในตัวเอง3. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ในห้องเรียนควรมีบรรยากาศการเคลื่อนไหว เสียงหัวเราะ แม้แต่การพูดคุยส่งเสียงดังก็ยังได้ เพราะมันแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ในเชิงรุก ซึ่งแตกต่างจากห้องเรียนที่เงียบสงบอย่างเช่นในอดีตนักเรียนในห้องเรียนนี้ควรได้รับอนุญาตให้ลุกขึ้นหรือนั่งลงบนเก้าอี้ของตัวเองได้ตามใจ เพื่อจะสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่พวกเขาสนใจและส่งเสริมให้พวกเขาคิดและรู้จักค้นคว้าด้วยตนเองเด็กๆ ควรพูดมากกว่าครู และห้องเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ที่ดีจะไม่มีเด็กหลับหรือนั่งอย่างเกียจคร้านเพื่อรอให้หมดเวลาเรียน4. สมาชิกในห้องมีความเคารพซึ่งกันและกันคุณครูและนักเรียนปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพและให้เกียรติกัน ผ่านทางการปฏิบัติและทางวาจา รวมทั้งน้ำเสียงเวลาพูดคุยกัน และนอกจากการพูดจาอย่างสุภาพต่อกันแล้ว นักเรียนยังส่งเสียงแสดงความคิดเห็นและความต้องการของตนเองด้วยน้ำเสียงที่แสดงถึงความมั่นใจ เพราะเสียงของพวกเขาทุกคนได้รับการฟังอย่างตั้งใจไม่ใช่แค่ความเคารพระหว่างครูกับนักเรียนเท่านั้น แต่นักเรียนยังเคารพซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างของเพื่อนอย่างเข้าอกเข้าใจ รวมถึงการมีความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม5. ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตัวเองห้องเรียนที่ดีคือ ห้องเรียนที่นักเรียนในห้องเรียนฟังคุณครู แต่การฟังและการยอมปฏิบัติตามกติกาไม่ได้มาจากการกลัวการลงโทษ หรือแรงกระตุ้นเชิงลบ ในทางกลับกันนั้น นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้มีความเข้าใจในความสำคัญของการประพฤติตัวที่ดีเพื่อผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองในระยะยาวซึ่งนับเป็นหน้าที่อันสำคัญของครูในการสรรหาวิธีการที่หลากหลายที่จะกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความอยากเรียนรู้และมุ่งสู่เป้าหมายของความสำเร็จในอนาคตของเขาดิฉันขอหยิบคำกล่าวหรือแนวคิดจากเว็บไซต์ข้อมูลจาก EDUCATHAI
ภาพ: suttontrust.com เรื่อง: ภัทรพร บุญนำอุดม ภาพ: กชกร มั่นคงเจริญกิจ
อ้างอิง:http://scitru.tru.ac.th/math-resources/?p=227
ห้องเรียนในฝันที่ไม่ไกลเกินจริง

อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts/504961
การจัดห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
สภาพห้องเรียนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก
ในโรงเรียนที่เปิดสอนชั้นอนุบาลนั้นห้องเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับเด็กเล็กๆ ครูจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกคือการจะทำให้เด็กได้พัฒนาทั้งสี่ด้านคือด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และเต็มศักยภาพ แล้วจะจัดอย่างไรที่จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาได้ดังกล่าว การจัดห้องเรียนมีเพียงโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อให้เด็กทำงานเหมือนเด็กโตเท่านั้นคงจะไม่ใช่ การเรียนรู้ไม่ใช่เพียงเพื่อให้เด็กเล็กได้เก่งด้านวิชาการเท่านั้น สิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของเด็กคือความรู้เรื่องสมอง ถ้าเราเข้าใจแล้วเราสามารถจัดห้องเรียนได้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการ การพัฒนาสมองของเด็กวัยนี้คือ
สมองของเด็กเล็กอยู่ในระยะที่กำลังเก็บรับประสบการณ์จากการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน และเกิดจากการสัมผัสของเด็ก โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสต่างๆเพื่อให้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นส่งไปยังสมอง ประสบการณ์ที่สมองต้องได้รับในเด็กเล็ก ได้แก่ ประสบการณ์ด้านภาษา ด้านกระบวนการคิด ด้านศิลปะหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ด้านการเคลื่อนไหว เป็นต้น ฉะนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องจัดสภาพแวดล้อมหรือห้องเรียนให้เด็กได้พัฒนาประสบการณ์ดังกล่าวข้างต้น ถ้าเรามีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายที่ชัดเจน การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณที่มากเกินความสามารถที่จะทำได้ ข้อเสนอแนะในการจัดห้องเรียนพอจะกล่าวได้ดังนี้
- คำนึงถึงความสะอาดของห้องเรียน วัสดุ อุปกรณ์และความปลอดภัยของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
- ป้ายนิเทศ หรือบอร์ดต่างๆที่จัดประสบการณ์ให้กับเด็กต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ไม่ใช่จัดเพื่อความสวยงามเท่านั้น เช่น การจัดให้สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้ ติดผลงานของเด็กพร้อมชื่อเจ้าของผลงาน ติดโปสเตอร์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กทำ ติดภาพกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่น่าประทับใจ ติดภาพกิจกรรมที่ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว
- อุปกรณ์ของใช้ประจำตัวเด็ก จัดเตรียมให้สะดวกต่อการใช้ และเป็นระเบียบเรียบร้อย
- ตกแต่งห้องเรียนด้วยสีสันที่กระตุ้นสมอง ไม่ใช้สีสะท้อนแสงที่จะทำลายสายตาเด็ก
- จัดวางเก้าอี้เป็นกลุ่มๆ เพื่อให้เด็กได้พูดคุยขณะทำกิจกรรม หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
- จัดมุม โต๊ะ ชั้น เพื่อจัดวางสิ่งต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพห้องเรียน
- จัดมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมบทบาทสมมติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมหนังสือ ฯลฯ สำหรับการจัดมุมครูปฐมวัยจะต้องคำนึงถึง ห้องเรียนควรมีมุมอย่างน้อย 3-5 มุม มีการผลัดเปลี่ยนสื่อของเล่นตามมุมที่เกิดจากความสนใจของเด็ก มีการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดมุมเล่น เพื่อให้เด็กได้เกิดความรู้สึกในความเป็นเจ้าของ อยากเรียนรู้ และครูจะต้องฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ในข้อตกลงระหว่างการเล่นร่วมกัน การจัดเก็บอุปกรณ์ การเสริมสร้างวินัยในตนเองและวินัยภายในห้องเรียน
ฉะนั้นการพัฒนาสมองของเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพนอกจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แล้ว ยังมีส่วนสัมพันธ์กับการจัดห้องเรียนดังที่กล่าวไว้แล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก GotoKnow โดย dararat
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/44518
ห้องเรียนในอนาคต Bridging Our Future

05ต.ค.